วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

แปล บทกาพย์เห่เรือ


โคลง


เมื่อพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จทางชลมารคแล้วทรงประทับเรือกิ่งซึ่งพรั่งพร้อมด้วยกำลังพลทหารห้อมล้อมกันไปเป็นขบวนภาพของเรือต้นแวววาวระยิบระยับจากแสงสะท้อนที่มาจากพายสีทอง


กาพย์

                     พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศเสด็จพระราชดำเนินโดยทางชลมารคได้ประทับบนเรือต้นในการเดินทางภาพของเรือกิ่งนั้นดูแพรวพราวภาพการพายเรือนั้นก็ดูอ่อนไหว   งดงามอย่างพร้อมเพรียงกัน   ขบวนเรือนั้นแน่นเป็นแถวเป็นแนวประกอบด้วยเรือที่หัวเรือเป็นรูปสัตว์หลายๆชนิดมองเห็นธงเด่นสะพรั่งมาแต่ไกลการเดินขบวนเรือทำให้เกิดเป็นคลื่นน้ำระลอก
เรือครุฑซึ่งบนเรือนั้นมีพลทหารกำลังพายเรืออย่างเป็นจังหวะพร้อมกับเปล่งเสียงโห่ร้อง
เรือสรมุขลอยมาเปรียบสวยงามดั่งพิมานบนสวรรค์ที่กำลังเคลื่อนที่ผ่านหมู่เมฆ เรือสรมุขตกแต่งไปด้วยม่านสีทอง หลังคาสีแดงมีลวดลายมังกรประดับอยู่
เรือสมรรถชัยซึ่งกำลังแล่นมาเทียบเคียงกับเรือสรมุขนั้นประกอบไปด้วยกาบแก้วขนาดใหญ่มีการเกิดแสงแวววับสะท้อนกับแม่น้ำมีความงดงามมากเหมือนดั่งว่ากำลังร่อนลงจากสวรรค์ฟากฟ้าลงสู่พื้นดิน
เรือสุวรรรณหงส์มีพู่ห้อยอย่างสวยงามล่องลอยอยู่บนสายน้ำเปรียบดั่งหงส์ที่เป็นพาหนะของพระพรหมเตือนตาให้ชม
เรือชัยนั้นแล่นด้วยความรวดเร็วเหมือนดั่งลม มีเสียงเส้าที่คอยให้จังหวะท้ายเรือให้แล่นไปเคียงคู่กันไปกับเรือพระที่นั่งลำอื่นๆ
เรือคชสีห์ที่กำลังแล่นไปนั้นดูแล้วชวนขบขันส่วนเรือราชสีห์ที่แล่นมาเคียงกันนั้นดูมั่นคงแข็งแรงเรือม้านั้นกำลังมุ่งหน้าไปข้างหน้าซึ่งเรือม้าทีลักษณะที่สูงโปร่งเหมือนกับม้าทรงของพระพาย
เรือสิงห์ดูเหมือนกับว่ากำลังจะกระโจนลงสู่แม่น้ำและมีความลำพองใจนั้นก็แล่นป็นแถวตามๆกันมา
เรือนาคนั้นมองดูเหมือนกับมีชีวิตแล้วชวนขบขันกำลังจะถูกเรือมังกรแล่นตามมาทัน
เรือเลียงผานั้นทำท่าเหมือนกับกำลังจะกระโจนลงแม่น้ำ ส่วนเรืออินทรีย์ก็มีปีกที่เหมือนกับกำลังจะลอยไปในอากาศ
เสียงดนตรีนั้นดังลั่นมีเสียงก้องมาจากแตรงอน เสียงพลทหารโห่ร้องอย่างครึกครื้นทำให้เกิดความความรื่นเริงในหมู่พลทหาร

กาพย์เห่เรือ





กาพย์เห่เรือ      

กาพย์เห่เรือเป็นกาพย์สำหรับฝีพายขับเห่ในกระบวนเรือเสด็จ ไม่นับว่าไปในงานพิธี ลำนำสำหรับเห่เรือมี 3 อย่าง คือ
                1. ช้าลวะเห่ ทำนองเห่ช้า สำหรับตอนเรือเริ่มออก หรือเรือตามน้ำ
                2. มูลลวะเห่ ทำนองเห่เร็ว  สำหรับตอนนำเรือพายทวนน้ำ หรือเกือบถึงจุดหมายปลายทาง
                3. ลวะเห่ เป็นการเห่เรือที่จะถึงจุดหมายปลายทาง
ลักษณะคำประพันธ์
        แต่งโคลงสี่สุภาพก่อนแล้วจึงแต่งกาพย์ยานีเลียนแบบ และแต่งกาพย์ยานีพรรณนาเพิ่มเติม ซึ่งเรียกว่า กาพย์ห่อโคลง
         วิธีแต่งกาพย์ห่อโคลง มีอยู่ 3 แบบ คือ
                1. แต่งกาพย์ยานีก่อนแล้วแต่งโคลงสี่สุภาพเลียนแบบ
                2. แต่งโคลงสี่สุภาพก่อนแล้วแต่งกาพย์ยานีเลียนแบบต่อมา
                3. แต่งโคลงสี่สุภาพก่อนแล้วแต่งกาพย์ยานีเลียนแบบ    และแต่งกาพย์ยานีพรรณนา เพิ่มเติม
ผู้ประพันธ์
    
เจ้าพระยาธิเบศร์ ไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (2258-2298) เป็นโอรสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยกรุงศรีอยุธยา
เนื้อเรื่อง แบ่งออกเป็น 5 ตอน ซึ่งกล่าวพรรณนาถึง
1. กระบวนเรือ         

2. พันธุ์ปลา          
3. พันธุ์ไม้     
4. พันธุ์นก                   
5. คร่ำครวญรำพึงรำพันถึงนางคนที่รัก
ลักษณะพิเศษของกาพย์เห่เรือ
    
        1. ลักษณะของสำนวนและความหมาย  ใช้สำนวนกะทัดรัด มีความหมายเด่นชัดเข้าใจง่ายและมีน้ำหนักอย่างเหมาะสม เช่น
                        พระเสด็จโดยแดนชล                ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
                กิ่งแก้วแพรวพรรณราย                     พายอ่อนหยับวับงามงอน
        2. ลักษณะถ้อยคำ ใช้ถ้อยคำเกลี้ยงเกลาสละสลวย ไพเราะด้วยการสัมผัสและทำให้เกิดภาพพจน์ เช่น
                        เนื้ออ่อนอ่อนแต่ชื่อ                    เนื้อน้องหรืออ่อนทั้งกาย
                ใครต้องข้องจิตชาย                           ไม่วายนึกตรึกตรึงทรวง
        3. ลักษณะการพรรณนา การพรรณนาความรู้สึกลึกซึ้งและแยบคายมาก เช่น
                        แก้มช้ำช้ำใครต้อง                       อันแก้มน้องช้ำเพราะชม
                ปลาทุกทุกข์อกตรม                        เหมือนทุกข์ที่พี่จากนาง
        4. ลักษณะอารมณ์ เกิดอารมณ์สะเทือนใจ เช่น
                        เพรางายวายเสพรส                  แสนกำสรดอดโอชา
                 อิ่มทุกข์อิ่มชลนา                             อิ่มโศกาหน้านองชล
        5. ลักษณะการแต่ง แต่งถูกต้อง มีการเล่นอักษร มีสำนวนอุปมาอุปไมย เช่น
                        รอนรอนสุริยโอ้                          อัสดง
                เรื่อยเรื่อยลับเมรุลง                           ค่ำแล้ว
                                รอนรอนจิตจำนง                   นุชพี่ เพียงแม่
                        เรื่อยเรื่อยเรียมคอบแก้ว                คลับคล้ายเรียมเหลียว

การพิจารณาคุณค่าด้านวรรณศิลป์ เรื่องกาพย์เห่เรือ
     
        1. เนื้อหา แบ่งออกเป็น 5 ตอน คือ
                1.1 การชมขบวนเรือในเวลาเช้า  ได้พรรณนาไว้อย่างละเอียด พิสดาร
                1.2 การชมฝูงปลาในเวลาสายอุปมาอุปไมยอย่างแจ่มชัดและกินใจอย่างยิ่ง
                1.3 การชมพรรณนาดอกไม้ในเวลากลางวัน สอดใส่ความรู้สึก   และอารมณ์ให้ผู้อ่านคล้อยตาม
                1.4 การชมฝูงนกในเวลาเย็น อุปมาอุปไมยแจ่มชัด เด่นชัด
                1.5 การคร่ำครวญถึงนาง ในเวลากลางคืน สร้างบรรยากาศเชิงอรรถรสและวังเวง
        2. รูปแบบ ลักษณะคำประพันธ์ ใช้กาพย์ห่อโคลง คือ แต่งโคลงสี่สุภาพแล้วแต่งกาพย์เลียนแบบพรรณนาเพิ่มเติม
        ศิลปการประพันธ์ทำให้เกิดภาพพจน์ แบะความรู้สึกทางสุนทรียะอันได้แก่ ความ ชื่นชมในสิ่งสวยงามตามธรรมชาติ ความไพเราะของดนตรี
        ความรู้สึกแยบคายทาง อารมณ์สะเทือนใจ
การพิจารณาคุณค่าด้านสังคม เรื่องกาพย์เห่เรือ
     
        1. สะท้อนภาพชีวิตคนไทยด้านการคมนาคม  แสดงการสัญจรทางน้ำให้เห็นว่าเมืองไทยมีแม่น้ำลำคลองมาก
        2. แสดงถึงขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น
                ประเพณีการแต่งกาย ผู้หญิงห่มผ้าสไบคลุมไหล่ เป็นต้น
                การไว้ทรงผม  ผู้หญิงนิยมไว้ผมยาวประบ่า   แล้วเก็บไรที่ถอนผมออกเป็นวงกลม
                การบอกเวลา นิยมใช้กลอง ฆ้องเป็นเครื่องบอกเปลี่ยนเวลา
ความรู้ที่ได้จากเรื่อง
     
        1. ได้รับรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีและสภาพสังคม เช่น  ประเพณีเห่เรือและประเภทของเรือ ประเพณีการแต่งกาย ผู้หญิงห่มผ้าสไบคลุมไหล่ ถ้าผู้หญิงชั้นสูง ๆ หรือมีฐานะ ห่มสไบทำด้วยตาด การไว้ทรงผม ผู้หญิงไว้ผมยาวประลงมาถึงบ่าแล้วเก็บไรถอนผมออกเป็นวงกลม การบอกเวลา นิยมใช้กลอง ฆ้องเป็นเครื่องบอกเปลี่ยนเวลา
        2. ได้รู้จักชื่อสัตว์ทั้งสัตว์บก สัตว์น้ำและชื่อต้นไม้
        3. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค และชนิดของเรือ
        4. ได้รู้เทพนิยายระหว่างครุฑกับนาค เรื่องมีว่า ครุฑกับนาคเกิดจากบิดาเดียวกัน แต่ต่างมารดา มารดาครุฑถูกมารดาของนาคกลั่นแกล้งข่มเหง จนตกเป็นทาสของมารดานาค ครุฑเจ็บใจมากขึงผู้ใจเจ็บ ต่อมาครุฑได้พรจากพระนารายณ์ให้จับนาคกินได้ ครุฑเป็นพาหนะของพระนารายณ์
        5. ได้ความรู้เกี่ยวกับคำและวิธีการใช้คำ เช่น ชดช้อย  พรหมินทร์  เสด็จ สำอาง อร่าม
ความดีของเรื่อง
     
        1. ลักษณะการแต่ง แต่งได้ถูกต้องตามแบบแผนบังคับ เช่น
                        ปางเสด็จประเวศดาว           ชลาลัย
                ทรงรัตนพิมานชัย                         กิ่งแก้ว
                พรั่งพร้อมพวกพลไกร                  แหนเห่
                เรือกระบวนต้นแพร้ว                   เพริศพริ้ง พายทอง
                                พระเสด็จโดยแดนชล                        ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
                กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย                    พายอ่อนหยับจีบงามงอน
        2. การใช้คำ  รู้จักสรรคำที่มีความหมายเด่นชัด คำทุกคำมีความหมายไพเราะรื่นหู สัมผัสใน สัมผัสนอกและมีทั้งสัมผัสสระ พยัญชนะ เช่น
                        จำปาหนาแน่นเนือง                        คลี่กลีบเหลืองอร่าม
                คิดคะนึงถึงนงราม                        ผิวเหลืองกว่าจำปาทอง
        3. การใช้สำนวนกะทัดรัด ใช้คำแต่น้อยความหมายมาก เช่น
                        เรื่อยเรื่อยมาเรียงเรียง                นกบินเฉียงไปทั้งหมู่
                ตัวเดียวมาพลัดคู่                               เหมือนพี่อยู่ผู้เดียวดาย
        4. ทรงพรรณนาอารมณ์ต่าง ๆ ได้ใกล้เคียงกับความจริง เช่น
                        เวนามาทันแล้ว                           จึงจำแคล้วแก้วโกมล
                ให้แค้นแสนสุดทน                         ทุกข์ถึงเจ้าเศร้าเสียดาย
        5. ผู้อ่านได้รับความรู้หลายเรื่อง เช่น ประเพณีต่าง ๆ  เทพนิยาย ความรู้ทางภาษาศาสตร์สัตว์และพฤกษ์ เป็นต้น
        6. พรรณนาให้เกิดจินตนาการและมโนภาพ เช่น
                        น้ำเงินคือเงินยวง                       ขาวพรายช่างสีสำอาง
                ไม่เทียบเปรียบโฉมนาง                    งามเรืองเรื่อเนื้อสองสี
อารมณ์สะเทือนใจของกาพย์ยานี
     
        1. อารมณ์เศร้า เช่น
                        เพรางายวายเสพรส                          แสนกำสรดอดโอชา
                 อิ่มทุกข์อิ่มชลนา                               อิ่มโศกาหน้านองชล
        2. อารมณ์คล้อยตามธรรมชาติ เช่น
                        ล่วงสามยามปลายแล้ว              จนไก่แก้วแว่วขันขาน
                ม่อยหลับหลับบันดาล                      ฝันเห็นน้องต้องติดตา
        3. อารมณ์แห่งภาพพจน์ เช่น
                        สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย               งามชดช้อยถอยหลังสินธุ์
                เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์                   ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
        4. อารมณ์แห่งการคร่ำครวญ เช่น
                        ยามสองฆ้องยามย่ำ             ทุกคืนค่ำย่ำอกเอง
                เสียงปี่มีครวญเครง                      เหมือนเรียมคร่ำร่ำครวญนาน
เรือในขบวนพยุหยาตรา  

ครุฑจับนาค ไกรสรมุข ศรีสมรรถชัย ศรีสุพรรณหงส์ 
ชัย คชสีห์ ราชสีห์ ม้า 
สิงห์ นาควาสุกรี มังกร เลียงผาและอินทรี

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บท กาพย์เห่เรือ ตอน เห่เรือกระบวน

กาพย์เห่เรือ
พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

เห่ชมเรือกระบวน


โครง


          ปางเสด็จประเวศด้าว  ชลาลัย
ทรงรัตนพิมานชัย กิ่งแก้ว
          พรั่งพร้อมพวกพลไกร แหนเห่
เรือกระบวนต้นแพร้ว เพริศพริ้งพายทอง



กาพย์


          พระเสด็จโดยแดนชน   ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณราย พายอ่อนหยับจับงามงอน
          นาวาแน่นเป็นขนัด ล้วนรูปสัตว์แสนยากร 
เรือริ้วทิวธงสลอน สาตครลั่นครั่นครื้นฟอง
          เรือครุฑยุดนาคหิ้ว ลิ่วลอยมาพาผัยผยอง
พลพายกรายพายทอง ร้องโห่เห่โอ้เห่มา
          สรมุขมุขสี่ด้าน เพียงพิมานผ่านเมฆา
ม่านกรองทองรจนา หลังคาแดงแย่งมังกร
          สมรรถชัยไกรกาบแก้ว แสงแวววับจับสาคร
เรียบเรียงเคียงคู่จร ดั่งร่อนฟ้ามาแดนดิน
          สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
          เรือชัยไวว่องวิ่ง รวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
เสียงเส้าเร้าระดม ห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน
          คชสีห์ทีผาดเผ่น ดูดังเป็นเห็นขบขัน
ราชสีห์ที่ยืนยัน คั่นสองคู่ดูยิ่งยง
          เรือม้าหน้ามุ่งน้ำ แล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง
เพียงม้าอาชาทรง องค์พระพายผายผันผยอง
          เรือสิงห์วิ่งเผ๋นโผน โจนตามคลื่นฝืนฝ่าฟอง
ดูยิ่งสิงห์ลำพอง เป็นแถวท่องล่องตามกัน
          นาคาหน้าดังเป็น ดูเขม้นเห็นขบขัน
มังกรถอนพายพัน ทันแข่งหน้าขบขัน
          เลียงผ่าง่าเท้าโผน เพียงโจนไปในวารี
นาวาหน้าอินทรี มีปีกเหมือนเลื่อนลอยโพยม
          ดนตรีมี่อึงอล ก้องกาหลพลแห่โหม
โห่ฮึกครึกครื้นโครม โสมนัสชื่นรื่นเริงพล
          กรีธาหมู่นาเวศ จากนคเรศโดยสาชล
เหิมหื่นชื่นกระมล ยลมัจฉาสารพันมี